เนื้อนวะโลหะ ใต้ฐานตอกโค๊ด ขนาดหน้าตัก ๑.๓ ซม. สูง ๑.๙ ซม. จัดสร้างโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องในมหามงคลวโรกาส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมพรรษา ๕ รอบ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ การจัดสร้างพระสังกัจจายน์น้อยกว่าพิมพ์นางพญาครับ พิธี ลงทอง จารแผ่นยันต์และพุทธาภิเษกแผ่นยันต์เมื่อ พุธที่ ๘ ม.ค.๒๕๓๕ ณ อุโบสถวัดนางพญา พิษณุโลก พระคณาจารย์ร่วมแผ่เมตตาจิตนั่งปรกบริกรรมรวม ๙๗ รูป สำหรับโลหะที่นำมาจัดสร้างได้มาจากการลงแผ่นยันต์ ทอง นาก เงิน ทองแดง อย่างละ ๑๐๘ แผ่น รวมทั้ง นะปถะมัง ดวงประสูติและดวงตรัสรู้ และนำแผ่นยันต์ที่ ถวายแก่พระคณาจารย์รวม ๗๓ จังหวัดๆละ ๙ วัด รวม ๕,๙๑๓ แผ่น นอกจากนี้ยังมีชนวนทองคำและชนวนนวโลหะของพระสมเด็จย่า ๙๐ พรรษาเมื่อปี ๒๕๓๓ มาร่วมด้วย หลังจากพิธีพุทธาภิเษกแล้วคณะกรรมการได้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงพระสุหร่าย และอธิษฐานจิตแล้ว จะนำไปหล่อหลอมต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯทรงเททอง ณ บริเวณพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันศุกร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๕ เวลาฤกษ์ ๑๕.๕๙ น.ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทองคำและเงินอย่างละ 6แผ่นร่วมในการสร้างในครั้งนั้น จัดว่าเป็นของดีพิธีใหญ่มวลสารเยี่ยม
ประวัติการจัสร้าง :สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดสร้างขึ้น เนื่องในมหามงคลวโรกาส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมพรรษา ๕ รอบ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕
………การจัดสร้างมีเนื้อทองคำหนักหนึ่งบาท หนักสองสลึงและหนักหนึ่งสลึง อย่างละ ๖,๙๙๙ องค์
เนื้อโลหะผสมขนาดใหญ่และเล็ก ๒๐๐,๐๐๐ องค์
………พิธีลงทอง จารแผ่นยันต์และพุทธาภิเษกแผ่นยันต์เมื่อ พุธที่ ๘ ม.ค.๒๕๓๕ ณ อุโบสถวัดนางพญา พิษณุโลก พระคณาจารย์ร่วมแผ่เมตตาจิตนั่งปรกบริกรรมรวม ๙๗ รูป
………สำหรับโลหะที่นำมาจัดสร้างได้มาจากการลงแผ่นยันต์ ทอง นาก เงิน ทองแดง อย่างละ ๑๐๘ แผ่น รวมทั้ง นะปถะมัง ดวงประสูติและดวงตรัสรู้ และนำแผ่นยันต์ที่ ถวายแก่พระคณาจารย์รวม ๗๓ จังหวัดๆละ ๙ วัด รวม ๕,๙๑๓ แผ่น
………นอกจากนี้ยังมีชนวนทองคำและชนวนนวโลหะของพระสมเด็จย่า ๙๐ พรรษาเมื่อปี ๒๕๓๓ มาร่วมด้วย หลังจากพิธีพุทธาภิเษกแล้วคณะกรรมการได้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงพระสุหร่าย และอธิษฐานจิตแล้ว จะนำไปหล่อหลอมต่อไป
………พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯทรงเททอง ณ บริเวณพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันศุกร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๕ เวลาฤกษ์ ๑๕.๕๙ น.ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทองคำและเงินอย่างละ ๖ แผ่นร่วมในการสร้าง
“เพื่อให้การจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้ได้มีความสมบูรณ์พร้อมตามวัตถุ ประสงค์ คณะกรรมการดำเนินโครงการ จึงได้กำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณีโบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งพุทธคุณ พร้อมทั้งงดงามสมบูรณ์ตามยุคสมัย โดยได้กำหนดให้มีพิธีพุทธาภิเษกมวลสารชนวนโลหะที่ใช้ในการสร้างวัตถุมงคล พิธีเททองและพิธีมหาพุทธาภิเษกรวมทั้งสิ้น ๑๖ ครั้ง”
พิธีพุทธาภิเษกมวลสารพระเนื้อผง การลงทองและจารแผ่นพระยันต์ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ๗ เสาร์ ๗ อังคาร ณ พระอุโบสถวัดสำคัญ ๑๕ วัด รวม ๑๖ ครั้ง
เริ่มต้นครั้งที่ ๑ ณ พระอุโบสถวัดชนะสงคราม
ครั้งที่ ๒ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ครั้งที่ ๓ วัดใหญ่ชัยมงคล
ครั้งที่ ๔ วัดโสธรวรารามวรวิหาร
ครั้งที่ ๕ วัดมังกรกมลาวาส
ครั้งที่ ๖ วัดบวรนิเวศวิหาร
ครั้งที่ ๗ วัดสุทัศนเทพวราราม
ครั้งที่ ๘ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ครั้งที่ ๙ วัดระฆังโฆสิตาราม
ครั้งที่ ๑๐ วัดห้วยมงคล
ครั้งที่ ๑๑ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
ครั้งที่ ๑๒ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
ครั้งที่ ๑๓ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ครั้งที่ ๑๔ วัดนางพญา
และครั้งที่ ๑๕ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
และครั้งที่ ๑๕ นี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรัชมงคลประชานาถ และพระกริ่งจักรตรี และพระราชทานทองคำส่วนพระองค์ร่วมในพิธีด้วย