฿500.00
เนื้อผงพญางิ้วดำ สภาพดี รุ่นพิเศษ เสาร์ ๕ ปี ๒๕๑๗ พิธี พิธีใหญ่ มหาศาลทรงคุณค่า วัดใหม่บ้านดอน จ.นครราชสีมา
พญางิ้วดำ ผู้รู้กล่าวว่าเป็นไม้มหามงคลที่มีฤทธานุภาพในตัวอย่างเอกอุ ไม่ว่าจะด้านสรรพคุณทางโอสถที่เมื่อนำมาต้มกับข้าวสารแล้ว ข้าวสุกทั้งหม้อจะมีสีดำสนิท ผู้กินเข้าไปย่อมมีกำลังดังพญาช้าง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคใด ๆ ป้องกันคุณไสย ยาสั่งทั้งปวง กินครบสามเดือนเป็นคงกระพันชาตรี
เมื่อนำไม้งิ้วดำมาพกติดตัวหรือบูชาในที่อันควรจะส่งผลให้เป็นเมตตามหานิยมอย่างยิ่ง ย่อมบังเกิดโชคลาภอยู่เนือง ๆ คำว่าขัดสนอดอยากจะไม่บังเกิดแก่ผู้บูชางิ้วดำนี้เลย ด้วยอานุภาพเยี่ยงนี้ทำให้มีผู้เสาะหาไม้งิ้วดำกันมานานนับพันปี ไม้งิ้วดำเป็นอะไรที่หายาก ที่เจอนั้นล้วนแล้วแต่ของปลอม ซึ่งเอาไม้ธรรมดามาย้อมสีดำหลอกกัน บางคนหาจนชั่วชีวิตตายแล้วเกิด เกิดแล้วตายก็ยังไม่เคยเจอ
“แต่ยุคสมัยของเราถือเป็นบุญลาภกันถ้วนทั่ว เมื่อมีผู้ค้นพบไม้งิ้วดำของแท้ที่มีอายุนานนับร้อยปี จนเนื้อไม้มีสีดำสนิทเป็นมันดังนิลกาฬ และแกร่งแข็งประดุจเพชรกล้าทั้งแก่นไม้และรากแก้วจนเกือบจะกลายเป็นหินแล้วในปัจจุบัน ค้นพบโดย คุณสุชิน เจนอารีย์ ซึ่งท่านผู้นี้ได้ขุดพบลายแทงที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งบ่งชี้ถึงที่ซ่อนของไม้งิ้วดำ คุณสุชินก็ลองไปค้นหาตามคำบอกเล่าในลายแทง กระทั่งพบจริง ๆ ที่จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งไม้งิ้วดำต้นดั้งเดิมนี้ได้ถูกบรรจุเก็บไว้ในกรุโบราณแบบแน่นหนาเป็นอย่างดี
ก่อนขุดขึ้นมา คุณสุชินได้ทำการบวงสรวงบอกกล่าวว่า ถ้าข้าพเจ้าขุดได้สมใจปรารถนาจริง ๆ แล้ว จะไม่ขอนำไปเป็นสมบัติส่วนตัว แต่จะนำไปถวายยัง
วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่เจ้าของเดิมที่บรรจุไว้ เมื่อทำการขุดก็ได้พบพญางิ้วดำสมคำอธิษฐานโดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ จากนั้น คุณสุชินก็นำไม้งิ้วดำดังกล่าวมามอบให้กับ คุณทัศนีย์ ชื้อรัตนากร เจ้าของร้านยา ศักดิ์ศรีเภสัช ในตัวจังหวัดนครราชสีมา
ซึ่งขณะนั้นคุณทัศนีย์เองก็เป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ร่วมอุปถัมภ์การก่อสร้างอุโบสถวัดใหม่บ้านดอน ครั้นคุณทัศนีย์ได้ไม้งิ้วดำมาแล้วก็เก็บรักษาเป็นอย่างดีด้วยไม่เคยพบเห็นของแปลกอย่างนี้มาก่อน ต่อมาคุณทัศนีย์ก็นำไม้งิ้วดำทั้งหมดถวายแก่ท่านพระครูอาคมวุฒิคุณ (วิจิตร อินทปัญโญ) วัดใหม่บ้านดอน ซึ่งท่านพระครูอาคมฯ ท่านนี้ เป็นศิษย์สำคัญรูปหนึ่งของหลวงพ่อผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และ
“เป็นศิษย์ของ หลวงพ่อหน่าย อินทสีโล วัดบ้านแจ้ง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”
ครั้นหลวงพ่อพระครูอาคมฯ ได้รับมอบไม้งิ้วดำมาแล้ว ท่านก็นำแก่นไม้ที่ใหญ่ที่สุดมาแกะเป็นเสาหลักมงคลมีลักษณะคล้ายกับหลักเมือง คือ เป็นเสากลม
หัวเสาสลักเป็นดอกบัวตูมอย่างละเอียดประณีตงดงามมาก ส่วนรากแก้วหลวงพ่อได้ทำการเททองหล่อองค์พระพุทธรูป มีพุทธ ลักษณะครึ่งซีก พระปฤษฏางค์ (หลัง)
ติดกับซุ้มเรือนแก้วประดับกระจกสี จากนั้นท่านก็บรรจุรากไม้งิ้วดำเข้าไปในองค์พระแล้วถวายพระนามว่า พระพุทธมงคลสมเด็จนางพญางิ้วดำ เพื่อให้ลูกหลานได้กราบไหว้บูชาไปตลอดกาลนาน
เนื้อไม้ที่เหลือหลวงพ่อพระครูอาคมฯ ให้ช่างแกะเป็นพระเครื่อง และท่านได้ลงเหล็กจารปลุกเสกเป็นอย่างดี ด้วยอำนาจจิตที่ฝึกฝนมายาวนาน ผนึกกับอิทธิฤทธิ์ของ เทพเจ้าผู้รักษาไม้งิ้วดำ ส่งผลให้พระนางพญาองค์น้อยนี้แสดงอภินิหารแก่ผู้รับไปบูชาอย่างน่ามหัศจรรย์ ส่วนเศษไม้ชิ้นเล็กกับฝุ่นผงไม้งิ้วดำ หลวงพ่อได้นำมาบรรจุไว้ในองค์พระบูชา และนำมาบดเป็นผงผสมกับว่านและผงพุทธคุณต่าง ๆ สร้างเป็นพระเครื่องนับสิบพิมพ์
ท่านยังได้แสวงหาผงวิเศษจากพระอาจารย์เจ้าผู้มีชื่อเสียงจากทั่วสารทิศมาคุลีการด้วย อาทิ
๑.ผงใบลานเผาแท้ ๆ ที่ได้มาจากพระคัมภีร์จารึกพุทธาคมโบราณ ผงจากคัมภีร์สมุดข่อย ผงผ้ายันต์เก่า หนังสือตำราศักดิ์สิทธิ์ซึ่งคณะศรัทธานำมาถวาย
๒.พระสมเด็จวัดระฆังฯ ของแท้ที่ชำรุดแตกหัก พระนางพญาวัดนางพญา พิษณุโลก พระรอดลำพูน พระกำแพง พระทุ่งเศรษฐี ตลอดจนพระกรุกำแพงเพชร พระกรุสุโขทัย
๓.พระกรุวัดท่ามะปรางค์ และ พระกรุสุพรรณบุรี เป็นต้น
๔.ผงอักขระไตรมาส ผงวิเศษ 5 ประการ มี ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงมหาราช และผงพุทธคุณ ซึ่งหลวงพ่อพระครูอาคมฯ ได้ทำการเขียน ลบ และปลุกเสกตลอดไตรมาส
๕.ดินจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่งในประเทศอินเดีย คือ สถานประสูติ สถานตรัสรู้ สถานแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร และสถานปรินิพพาน
๖.ดินจากพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ซึ่งถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชาวลาว ดินพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ดินพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
ดินพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ดินอนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ดินและผงพระก้นกรุวัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ดินจากสถานที่ทำสังคายนาครั้งรัชกาลที่ ๑
ดินโป่งอาถรรพณ์ต่าง ๆ และดินปลวก ซึ่งบางแห่งหลวงพ่อก็เดินทางไปนำมาด้วยองค์ท่านเอง บางแห่งคณะศรัทธาสานุศิษย์ก็นำมาถวาย
๗.ผงเกสรดอกไม้ 108 ชนิด และ ผงว่าน ๑๐๘ ชนิด
๘.เถ้าธูปจากกระถางบูชาพระประธานในอุโบสถจำนวน ๑๐๘ วัด
๙.เทียนชัยในพิธีมหาพุทธาภิเษกของวัดใหม่บ้านดอน และวัดต่าง ๆ หลายสิบวัด