logologologologo
1
  • Home
  • พระเครื่องภาคกลาง (Central Region)
  • พระสมเด็จ เสาร์ 5 หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ ปี ๒๕๑๖
View cart “พระกริ่งเศรษฐีศรีอุบล หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต นวะโลหะ นำฤกษ์” has been added to your cart.
พญาเต่าเรือน หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ปี ๒๕๓๘
21 ตุลาคม 2023
พระสมเด็จปกโพธิ์พิมพ์ใหญ่ หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม ปี ๒๕๓๖
23 ตุลาคม 2023

พระสมเด็จ เสาร์ 5 หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ ปี ๒๕๑๖

฿450.00

Categories: พระเครื่องภาคกลาง (Central Region), เปิดให้เช่าบูชา (Sale item)
Share
0
Description

เนื้อผงพุทธคุณ สภาพดี รุ่นเสาร์ ๕ ปี ๒๕๑๖ วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
“ถิร พึ่งเจริญ …. (๒๔๔๕-๒๕๒๗)
พระวิสุทธิสารเถร เดิมมีสมณศักดิ์เป็นพระครูรักขิตวันมุนี แต่ทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อถิร” เป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญของเมืองสุพรรณ และของประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ ณ บ้านพูลหลวง ต.พิหารแดง อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี เป็นบุตรของพ่อวาส แม่เพิ่ม “พึ่งเจริญ” ตระกูลผู้ใหญ่ฝ่ายมารดาสืบเชื้อสายมาจากหมื่นเกล้าฯ และยายทวดจัน ซึ่งมีบุตรสาวชื่อยายมี แม่เพิ่มเป็นบุตรของยายมีกับตาสิงห์ ต้นกระกูล “สิงห์สุวรรณ” ส่วนตระกูลข้างเตี่ย (พ่อ) มาจากก๋งผึ้งและย่าอิ่ม เดิมจาก “แซ่ตัง” มาใช้นามสกุลว่า “พึ่งเจริญ” พ่อวาสเป็นบุตรชายของก๋งผึ้งกับย่าอิ่ม หลวงพ่อถิรบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๗ ปี ต่อมาเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ณ วัดหน่อพุทธางกูร โดยมีพระครูโพธาภิรัต (สอน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวรรณวรคุณ (หลวงพ่อคำ) วัดหน่อพุทธางกูร เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า “ปญฺญาปโชโต”แล้วย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดสุวรรณภูมิ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้นักธรรมชั้นเอก เป็นนักเรียนที่สอบนักธรรมชั้นเอกได้เป็นรูปแรกในนามของจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาไปอยู่วัดป่าเลไลยก์ เมื่ออายุ ๓๘ ปี พรรษา ๑๘ หลวงพ่อถิรได้เขียนบันทึกประวัติของท่านว่า “ข้าพเจ้าได้ทรงรับอนุมัติจากท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ให้ย้ายจากวัดสุวรรณภูมิ ไปเป็นผู้รักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ พอถึงวันที่ ๑๙ ได้ไปอยู่ ในคืนนั้นได้นิมิตไปว่า ท่านพระครูโพธาริรัต (สอน) เจ้าอาวาสและพระอุปัชฌายะของข้าพเจ้าที่ล่วงไป ได้มาบอกแก่ข้าพเจ้าว่า อยู่ไปเถอะไม่เป็นไร ใครจะทำอะไรไม่ดีก็ช่างเขา แล้วเขาจะพินาศไปเอง”
วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๔๘๓ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์,ผู้รักษาการเจ้าคณะอำเภอเมืองสุพรรณบุรี,และพระอุปัชฌาย์
วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๔๙๔ เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๕ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูรักขิตวันมุนี
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๐ เป็นพระราชาคณะที่ พระรักขิตวันมุนี
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๑ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาที่ พระวิสุทธิสารเถร
มีเกร็ดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่า เมื่อหลวงพ่อถิรย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและไม่เกิดปัญหาเช่นหลวงพ่อโต๊ะ เนื่องจากท่านเป็นที่รักศรัทธาเสื่อมใสของชุมเสือก๊กต่าง ๆ เช่น เสือฝ้าย เสือมเหศวร เสือใบ ที่มักมาหาเครื่องรางของขลังจากหลวงพ่อถิรเสมอตั้งแต่ครั้งอยู่ที่วัดสุวรรณภูมินั้นแล้ว เสือเหล่านี้ต่างพากันประกาศก้องว่า ใครหน้าไหนอย่าได้มารบกวนการสร้างพัฒนาวัดของหลวงพ่อถิร ให้เดือนเนื้อร้อนใจเป็นเด็ดขาด หาไม่เป็นได้เจอกัน…ฟังดูเสือเหล่านี้ก็มีคุณธรรม รักพระศาสนาดีทีเดียว และนั่นก็เป็นเหตุมีผู้กล่าวหาว่า หลวงพ่อถิรเลี้ยงเสือ เลี้ยงโจร ซึ่งท่านก็ตอบด้วยอารมณ์ขันว่า“ข้าไม่ได้เลี้ยงพวกมันหรอก มันเลี้ยงข้าตะหาก…”
เมื่อเสือก๊กต่าง ๆ ลงให้หลวงพ่อถิร นับถือเป็นอาจารย์ ชื่อเสียงความขลังของท่านจึงเป็นที่รู้จักที่วไป กอปรกับท่านมีสีลาจารวัตรงดงาม เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีเมตตาจิตจึงเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์ในงานพุทธาภิเษกสำคัญแทบทุกงานในประเทศมาตั้งแต่อายุพรรษาไม่มากนัก
หลวงพ่อถิร นอกจากเป็นพระเกจิเรืองวิทยาคมแล้ว ท่านยังเป็นนักการศึกษา นักอ่าน นักเขียนตัวยงหนังสือประวัติวัดป่าเลไลยก์ ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก เป็นผลงานการค้นคว้าของท่านเอง ทางวัดยังรักษาลายมือต้นฉบับเอาไว้อย่างดี
หลวงพ่อถิร ได้จัดให้มีการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี มีภิกษุสามเณรจำพรรษาปีละเกือบร้อยรูป ได้ปรับสานที่ ย้ายกุฏิ ซ่อมพระวิหารใหญ่มุงหลังคา กระเบื้องสี สร้างถนน สร้างศาลาสมเด็จพระนเรศวร ทำการซ่อมและสร้างเสมอมาจดวัดป่าได้รับเกียรติบัตรเป็น วัดพัฒนาตัวอย่าง วัดแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นต้นมา หลวงพ่อถิรได้ริเริ่มจัดงานประจำปีวัดป่าเลไลยก์ กำหนดงานเทศกาลปิดทองหลวงพ่อโต
วัดป่าเลไลยก์ในวันทางจันทรคติ วันขึ้น ๕ – ๙ ค่ำ ของเดือน ๕ และเดือน ๑๒ ของทุกปี วัดป่าเลไลยก์เริ่มเปิดกว้างสู่สาธารณชนยิ่งขึ้น

Related products

  • เจ้าสัว 2019 หลวงปู่ผา โกสโล ลงรักษ์ปิดทอง

    ฿650.00
  • พระปิดตาเจริญพร รุ่นแรก หลวงปู่ผา โกสโล ทองแดง

    ฿400.00
  • พระกริ่งเศรษฐีศรีอุบล หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต นวะโลหะ นำฤกษ์

    ฿2,000.00
© 2025 ตามรอยพุทธคุณ. All Rights Reserved. Muffin group
    1