฿600.00
เนื้อทองแดง สภาพดี ปี ๒๕๑๖ วัดสามัคคีธรรม ถนนลาดพร้าว ๖๔ (ซอยเกตุนุติ) แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อหล่ำ สิริธัมโม (พระครูสิริธรรมรัต) เดิมชื่อ หล่ำ แซ่เจ็ง เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๒ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะเส็ง เอกศก เวลา ๑๔.๕๕ น. ที่บ้านหมู่ ๑ ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โยมบิดาชื่อ จุ้ยเตียง แซ่เจ็ง โยมมารดาชื่อ ปิ่น แซ่ซิ้ม เมื่ออายุได้ ๗ ปี โยมมารดาถึงแก่กรรม จึงต้องมาอยู่กับโยมตาโยมยายเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ ที่บ้านหมู่ ๘ ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่ออายุเข้าเกณฑ์ศึกษา ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดแหลม กระทั้งจบชั้นประถมปีที่ ๔ หลังจากนั้นได้ช่วยทางบ้านประกอบอาชีพทำสวน ต่อมาโยมตาได้ถึงแก่กรรมลง หลังจากงานตามประเพณีแล้ว จึงได้ไปขอเรียนภาษาอัการขอมกับ พระอาจารย์ฉัตร ผาสุโก วัดบางหญ้าแพรก กระทั่งสามารถอ่านออกเขียนได้ เมื่ออายุครบบวช จึงเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดบางหญ้าแพรก เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๒ โดยมีพระครูสิริสีลคุณ (พระราชวิริยาภรณ์) เข้าคณะจ้งหวัดสมุทรปราการเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเผย (พระครูสถิตย์ธรรมคุณ) เจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์ผ่อง (พระครูบวรสมุทรกิจ) เจ้าอาวาสวัดปุณหังสนาวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “สิริธัมโม” หลังจากอุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดบางหญ้าแพรก เรียนพระปริยัติธรรม และวิปัสสนากรรมฐานกับโยมอาจารย์อาบ สมสนิท จนออกพรรษา แล้วสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวงได้นักธรรมตรี ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ ในปี พ.ศ.๒๔๙๓ หลังออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อหล่ำได้ออกเดินธุดงค์ปฏิบัติกรรมฐานไปตามจังหวัดต่างๆ และได้เป็นหัวหน้านำการเดินธุดงค์ มีพระรุ่นพี่รุ่นน้อง พอครบ ๓ เดือน จึงเดินทางกลับวัดบางหญ้าแพรก และได้ พยายามค้นคว้าตำรับตำรายารักษาโรคแผนโบราณบ้าง อักษรขอมบ้าง รวมทั้งเลขยันต์ต่างๆ ซึ่งเป็นของครูบาอาจารย์ในวัดแต่ก่อนๆ ในระหว่างเดินธุดงค์แต่ละปี หลวงปู่หล่ำได้มีโอกาสพบปะครูบาอาจารย์ทั้งฆราวาสและบรรพชิต ได้เรียนวิชากับพระอาจารย์เกลี้ยง (พระครูโสภณวิสุทธิ์) เจ้าอาวาสวัดสุทธิโสภณ จังหวัดศรีษะเกษ เรียนวิชาเวทย์มนตร์คาถาเลขยันต์จากอาจารย์ พาน นนท์ตา อดีตกำนัน ต.ทุ่งสะอาด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ ซึ่งเคยมอบตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับหลวงปู่ ศุข วัดมะขามเฒ่า ขณะที่อาจารย์พาน ยังบวชอยู่ นอกจากนี้หลวงปู่หล่ำ ยังได้มอบตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อครื้น (พระครูโฆสิตธรรมสาร) วัดสังโฆสิตาราม สุพรรณบุรี แต่ไม่ได้พักอยู่จำพรรษากับท่าน เดินทางไปกลับ บางครั้งไม่ได้ค้างคืน บางครั้งก็ค้างคืน
การฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ นับว่าเป็นเรื่องบังเอิญเกินคาดคิด เมื่อวันหนึ่งหลวงพ่อครื้นกับพระและทายกผู้ติดตามเดินทางมาวัดบางหญ้าแพรก เพื่อเป็นอุปัชฌาย์บวชนาค ซึ่งตอนนั้นท่านเจ้าอาวาสกำลังอาพาธอยู่ หลวงพ่อหล่ำได้จัดที่พักรับรองท่านอย่างดี มีโอกาสเข้าไปกราบท่าน ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์เรียนวิชาด้วย หลวงพ่อครื้นไม่รับปากเพียงแต่พูดคุยกันตามธรรมดา แต่ก็รู้ว่าถ้อยคำที่พูดคุยกันหลวงพ่อครื้นใช้วาจาล้วงลูกสอบถามและทดสอบพลังจิตแบบไม่ให้รู้ตัว และทดสอบความรู้ที่มีอยู่ในตัวมาแต่ก่อน รู้สึกว่าท่านจะพอใจในวิชาภาษาขอมที่หลวงพ่อหล่ำมีความชำนาญอ่านออกเขียนได้แปลความหมายได้ลึกซึ้ง สมัยก่อนวิชาอาคมต่างๆ ที่บันทึกไว้ในใบลานคัมภีร์ต่างล้วนเป็นอักขระอักษรขอมแทบทั้งสิ้น พอรุ่งเข้าได้มีคนนิมนต์ไปวัดบางพลีใหญ่ใน หรือวัดหลวงพ่อโต อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อหลวงพ่อครื้นเสร็จภารกิจที่จังหวัดสมุทรปราการแล้ว ท่านก็เดินทางกลับวัดสังโฆ บางปลาม้าในวันรุ่งขึ้น
เหตุการณ์ผ่านไปหลายวัน หลวงพ่อหล่ำแทบลืมเรื่องการเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อครื้นเนื่องจากมัวยุ่งอยู่กับภาระหน้าที่ในวัดบางหญ้าแพรก วันหนึ่งได้มีพระมาพบหลวงพ่อหล่ำบอกว่าหลวงพ่อครื้นให้มาตาม ให้ไปพบท่านที่วัดเป็นการด่วน ไม่บอกว่ามีเรื่องอะไร ท่านก็ไป พอไปถึงเข้าไปกราบสนทนากัน เห็นท่านมีร่างกายอ่อนแอ ด้วยอยู่ในวัยชราภาพมากแล้ว ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้ค่ำ ท่านพูดอย่างคนกันเองว่า “เฮ้ย ท่านไม่ให้กุอยู่แล้ว” ความหมายในคำพูดของหลวงพ่อครื้นก็คือ ใกล้วาระแห่งการดับขันธ์ของท่านแล้ว ท่านปรารภว่า สอนวิชาให้ใครต่อใครมาก็มาก แต่วิชาตุ๊กแกยังไม่มีใครสืบทอดเลย ไม่ใช่หวงวิชา แต่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่จะเป็นผู้สืบทอดเรียนวิชานี้ยังไม่มี หลวงพ่อครื้นท่านเห็นว่าหลวงพ่อหล่ำเป็นนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มีพลังจิตกล้าแข็ง เหมาะสมที่จะเรียนวิชานี้ได้ จึงสอนวิชาปลุกเสกตุ๊กแกให้ด้วยความเต็มใจ หลวงพ่อครื้นท่านทดสอบให้หลวงพ่อหล่ำภาวนาคาถาตุ๊กแกด้วยสมาธิจิตมั่น จนสามารถให้ตุ๊กแกมาหา มารวมกันให้เท่าที่มีอ