เนื้อทองแดง สภาพสวย ปี ๒๕๓๓ วัดพระแก้ว จ.เชียงราย มี ๒ เหรียญ บูชาเหรียญละ
..”เน้นพุทธคุณสูงสุด..เป็นอันใช้ได้ บูชาได้”..ข้าราชการเก่าในสมัยนั้นท่านหนึ่งที่ดูแลเรื่องนี้บอกว่าหลวงปู่โต๊ะได้อธิษฐานจิตปลุกเสกด้วย ซึ่งท่านต้องใช้พลังอันแกร่งกล้าสูงมากๆ ในการปลุกเสกเหรียญทั้งสามพิมพ์นี้(พิมพ์พระเชียงแสนสิงห์หนึ่ง,พิมพ์ครูบาศรีวิชัยและ พิมพ์ในหลวงร. ๙ ทรงผนวช) และการจัดให้เช่าบูชายุคนั้นส่งไปตามที่ว่าการอำเภอต่างๆ มีผู้ดูแลรับผิดชอบชัดเจน
วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) เรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอนหรือส่วนที่สูงที่สุดของเทือกเขานางนอน และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร
ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ (ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะเถระได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย(กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุงมีความยาว ๑,๐๐๐ วาปักบนยอดเขาหากตุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ ๕๐๐ ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงค์มังราย พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย ๕๐ องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้ พระธาตุดอยตุงแต่เดิมมีองค์เดียว รูปแบบการก่อสร้างก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสองคล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ เมืองเชียงรายสมัยก่อนเป็นเมืองร้างอยู่หลายครา พระธาตุดอยตุงจึงขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์ ตัวพระธาตุทรุดโทรมและพังทลายลง นับตั้งแต่พญามังรายได้สร้างเจดีย์อีกองค์ใกล้กัน อีกองค์หนึ่งจึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์ ปัจจุบันพระธาตุเป็นสีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ ๕ เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก พระธาตุดอยตุง อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกครึ้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่า เป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยกระทรวงมหาดไทย ได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบพระเจดีย์เดิมไว้ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยร่วมกับชาวบ้านได้ทำการบูรณไว้โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลี่ยม ตามศิลปะแบบล้านนา ในปี พ.ศ.๒๔๗๐ โดยกระทรวงมหาดไทยได้จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นพุทธบูชาและจัดหารายได้เพื่อการบูรณะองค์พระบรมธาตุ ในปีนั้นด้วย ดังนี้
-พระสิงห์หนึ่งดอยตุง ขนาด ๕-๙ นิ้ว
-พระกริ่งสิงห์หนึ่งดอยตุง ( ก้น ช ) เนื้อนวโลหะ สูง ๓ ซ.ม. ฐานกว้าง ๑.๕ ซ.ม. จำนวนสร้าง ๑๐,๐๐๐ องค์ ส่วนเนื้อทองคำจัดสร้างตามสั่ง
-เหรียญพระบรมธาตุดอยตุง ๓ แบบมีดังนี้
เหรียญพระบรมธาตุดอยตุง หลัง ภูมิพโล หรือทรงผนวช
เหรียญพระบรมธาตุดอยตุง หลัง พระสิงห์หนึ่ง
เหรียญพระบรมธาตุดอยตุง หลัง ครูบาศรีวิชัย
มีเนื้อทองคำ อัลปาก้า ทองแดงรมดำ ทองแดงกะไหล่ทอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ร.๙) ทรงโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสรธิราช(ร.๑๐) เสด็จแทนพระองค์ในการเททอง ณ มณฑลพิธีวัดเจดีย์หลวง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๖ และมีพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระเจ้าล้านทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ตรงกับวันวิสาขบูชา ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๖ เวลา ๑๕.๐๕ น.(จุดเทียนชัย) นับเป็นพิธีใหญ่มีเกจิอาจารย์ทั่วประเทศร่วมปลุกเสก มีพระเถราจารย์นั่งปรกอธิฐานจิต (ชุดที่แรก) เวลา ๑๙.๓๐ น. พระพิธีธรรมสำนักวัดราชนัดดารามวรวิหาร เจริญพระคาถาพุทธาภิเษก
๑).พระครูภาวนาภิรัตน์ (ครูบาอินทจักร) วัดบ่อน้ำหลวง จ.เชียงใหม่
๒).พระครูพรหมจักรสังวร(ครูบาพรหมจักร) วัดพระบาทตากผ้า จ.ลำพูน
๓).พระครูสุตตาธิการี(หลวงพ่อทองอยู่) วัดหนองพระองค์ จ.สมุทรสาคร
๔).พระครูจันทรโสภณ(หลวงพ่อนาค) วัดทัศนารุณสุนทริการาม กรุงเทพฯ
๕).พระวิบูลย์เมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
๖).พระครูนนทกิจวิมล(หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี
๗).พระครูสาครกิจโกศล(หลวงพ่อจ้อน) วัดเจ็ดริ้ว จ.สมุทรสาคร
๘)..พระครูพิพัฒน์ศิริธร(หลวงพ่อคง) วัดบ้านสวน จ.พัทลุง
๙).หลวงพ่อนำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
๑๐).หลวงพ่อเตียง วัดเขาลูกช้าง จ.พิจิตร
๑๑).พระครูพิพิธพัชรศาสตร์(หลวงพ่อจ้วน) จ.เพชรบุรี
๑๒).พระครูพิพิชวิหารการ(หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
๑๓).พระครูปัญญาโชติคุณ(หลวงพ่อเจริญ) วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี
๑๔).พระครูสมุห์อำพล วัดอัมพวา กรุงเทพฯ
๑๕).หลวงพ่อมิ่ง วัดกก กรุงเทพฯ
ชุดที่สอง เวลา ๐๑.๓๐ น. พระพิธีธรรมสำนักวัดเลา เจริญพระคาถาจักรพรรดิ์ตราธิราช พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ(เจ้าพิธี)
๑).พระอาจารย์สม วัดหัวข่วง จ.ลำปาง
๒).พระครูพิบูลธรรมภาณ วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี
๓).หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน จ.ลำปาง
๔).หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ
๕).พระครูชุณห์ วัดเขาชายธง จ.นครสวรรค์
๖).พระราชมุนี(หลวงพ่อโฮม) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
๗).พระอริยเมธี วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ
๘).พระครูสมุห์ละมัย วัดพระศรีมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
๙).พระครูประภาสธรรมาภรณ์(หลวงพ่อลำยอง) วัดบางระกำ จ.พิษณุโลก
๑๐).พระครูสาธุกิจวิมล(หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม
๑๑).พระอาจารย์สมวงษ์ วัดวังแดงเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา
๑๒).หลวงพ่อแดง วัดบางเกาะเทพย์ศักดิ์ จ.สมุทรสงคราม
๑๓).พระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่
๑๔).พระอาจารย์สิงห์คำ วัดล่ามช้าง จ.เชียงใหม่
๑๕).พระอาจารย์สิงห์คำ วัดเหมืองง่า จ.ลำพูน
๑๖).พระราชปัญญาโมลี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย วัดเจ็ดยอด
๑๗).พระพุทธวงศ์วิวัฒน์ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย วัดพระแก้ว
๑๘).พระครูพินิตธรรมประภาส วัดมิ่งเมือง จ.เชียงราย
๑๙).พระครูโสภณธรรมมุนี วัดศรีโคมคำ อ.พะเยา
๒๐).พระครูเมธีธวัชคุณ วัดราชคฤห์ อ.พะเยา
๒๑).พระครูนิวัษฐ์สัทธาคุณ วัดอำมาตย์ อ.เทิง
๒๒).พระครูธีรธรรมวิวัฒน์ วัดกาสา อ.แม่จัน
๒๓).พระครูหิรัญญเขตคณารักษ์ วัดศรีบุญเรือง อ.แม่จัน
๒๔).เจ้าอธิการฝ้าย จันทโก วัดเหมืองแดง อ.แม่สาย
๒๕).พระอาจารย์ตี๋ สุวรรณโชโต วัดพรหมวิหาร อ.แม่สาย
นอกจากรายนามคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกนี้แล้ว ยังได้รับ การยืนยันจากผู้หลักผู้ใหญ่ในขณะนั้นว่ายังมีอีกหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ร่วมปลุกเสกในการครั้งนี้ด้วย แล้วยังชี้แนะด้วยว่าเหรียญในชุดนี้ถือเป็นเหรียญดีครบทุกด้านสมควรมีไว้ใช้บูชา