logologologologo
1
  • Home
  • เปิดให้เช่าบูชา (Sale item)
  • เหรียญใบโพธิ์ หลวงปู่เจียม อติสโย พิมพ์ใหญ่
View cart “พระขุนแผนผงพรายกุมาร หลวงปู่เขียน ปุญญกาโม กุมารทองยม” has been added to your cart.
เหรียญ ๙๒ ปี หลวงปู่เจียม อติสโย เนื้อทองแดงรมดำ
20 กุมภาพันธ์ 2020
เหรียญข้าวหลามตัด หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ เนื้อทองแดง ปี ๒๕๓๑
20 กุมภาพันธ์ 2020

เหรียญใบโพธิ์ หลวงปู่เจียม อติสโย พิมพ์ใหญ่

฿500.00

Categories: พระเครื่องจังหวัดสุรินทร์ (Surin province), เปิดให้เช่าบูชา (Sale item)
Share
0
Description

เนื้อทองแดง สภาพสวย ปี ๒๕๓๙ อายุครบ ๘๖ ปี วัดอินทราสุการาม(วัดหนองยาว) ต.กระเทียม อ.สังขะ สุรินทร์

“หลวงปู่เจียม อติสโย” พระเกจิชื่อดังเมืองสุรินทร์ เป็นพระที่มีศีลาจารวัตรดีงาม หลวงปู่เจียม มีนามเดิมว่า เจียม นวนสวัสดิ์ (เดือมดำ) เกิดเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน  ๒ ปีกุน สายเลือดกัมพูชา ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านดองรุน ต.ประเตียเนียง อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๔ คน เป็นชาย ๓ คน หญิง ๑ คน ท่านเป็นบุตรคนโต และในกาลต่อมาท่านได้อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดทักษิณวารี ต.ลำดวน อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ โดยมีหลวงพ่อวาง ธัมมโชโต เกจิดังเรืองวิทยาคม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า “อติสโย” หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านสมัครใจอยู่จำพรรษา ณ วัดทักษิณวารี เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ฝึกวิปัสนากัมมัฏฐาน เรียนภาษาไทย โดยฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวาง-หลวงพ่อเปราะ นอกจากนี้แล้ว ท่านยังวนเวียนออกธุดงค์ไปตามถ้ำและป่าเขาอย่างต่อเนื่อง ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชายแดนประเทศลาว โดยยึดป่าเขาเป็นสถานศึกษา ได้พบกับพระอาจารย์หลายท่านในระหว่างเดินธุดงค์ ได้สนทนาธรรมและเรียนรู้วิธีการปฏิบัติสมาธิภาวนาจากพระอาจารย์เหล่านั้น เป็นเวลานานถึง ๑๓ ปี แล้วกลับมาเข้าพรรษาที่วัดทักษิณวารี ภายหลังกลับจากธุดงค์แล้ว เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓ กลุ่มชาวบ้านหนองยาง ได้นิมนต์หลวงปู่เจียม ให้ไปสร้างวัดในพื้นที่บ้านหนองยาว ถนนโชคชัย-เดชอุดม ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ เป็นสำนักสงฆ์ ด้วยการสร้างกุฏิเล็กๆ สำหรับการปฏิบัติธรรม โดยหลวงปู่เจียมได้อยู่จำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์แห่งนี้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาสำนักสงฆ์แห่งนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “วัดอินทราสุการาม” หลวงปู่เจียมได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นครั้งแรก เป็น “ตะกรุดโทน” ลักษณะม้วนแผ่นทองสอดสายยางร้อยกับสายร่ม และผูกห้อยพระแก้วมรกตและเหรียญรูปเหมือน เป็นต้น และเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๑๕ หลวงปู่เจียมอนุญาตให้คณะศิษยานุศิษย์ จัดสร้างวัตถุมงคลกริ่งรูปเหมือน รุ่น ๑ จำนวน ๗,๐๐๐ องค์ เหรียญรูปเหมือน รุ่น ๑ จำนวน ๗,๐๐๐ เหรียญ พร้อมตะกรุดแขวนคอชุดใหญ่ จำนวน ๗,๐๐๐ เส้น พ.ศ. ๒๕๓๗ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมหลวงปู่เจียม ที่วัดอินทราสุการาม เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อสนทนาธรรม ในโอกาสนี้ หลวงปู่เจียมได้ทูลเกล้าฯถวายวัตถุมงคลพระกริ่งรูปเหมือน รุ่นรับเสด็จ ตะกรุด เป็นที่ระลึกด้วย พ.ศ. ๒๕๔๖ หลวงปู่เจียมอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นมูลนิธิอติสโย เป็นวัตถุมงคลหล่อโบราณ รูปเหมือน (เททองในวัด) สรุปรวมวัตถุมงคลทั้งวัดจัดสร้าง ภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งสิ้นประมาณ ๕๐ รุ่น เมื่อรวบรวมปัจจัยได้นำไปสร้างถาวรวัตถุมากมายและจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม สมณศักดิ์ที่ได้รับ พ.ศ. ๒๕๒๗ หลวงปู่เจียมได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ “พระครูอุดมวรเวท”มรณภาพ ย่างเข้าสู่วัยชรา หลวงปู่เจียมเริ่มมีอาการเหน็ดเหนื่อย สายตาพร่ามัว ประสาทหูฟังไม่ค่อยชัด คณะศิษยานุศิษย์ได้นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ ครั้นเมื่อออกจากโรงพยาบาล หลวงปู่เจียมยังต้องรับกิจนิมนต์จากชาวบ้านที่เลื่อมใสศรัทธา เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขไม่เว้นแต่ละวัน บ้างต้องไปนั่งประพรมน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้ศิษย์สม่ำเสมอ กระทั่งเมื่อเวลา ๑๖.๕๙น ของวันศุกร์ที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ คณะศิษย์วัดอินทราสุการาม ได้ตีระฆังรัวกลองเป็นชุด เพื่อแจ้งเหตุว่า บัดนี้ชาวเมืองสุรินทร์ได้สูญเสียปูชนียสงฆ์รูปสำคัญ คือ หลวงปู่เจียมได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคไตวาย ภายในกุฏิวัดอินทราสุการาม หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการอาพาธจากโรคไตมาเป็นเวลานาน ประกอบกับวัยที่ชราภาพมาก สิริอายุรวม ๙๖ พรรษา ๔๗ ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านที่เคารพนับถือเป็นยิ่งนัก คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์รวมไปถึงชาวบ้านได้นำร่างหลวงปู่บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งไว้ ณ ศาลาการเปรียญวัดอินทราสุการาม เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้รำลึกถึงคุณงามความดี สำหรับกำหนดการเบื้องต้น จะมีการบรรจุศพหลวงปู่เจียมที่วัดอินทราสุการาม เป็นเวลา ๑๕ วัน เพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้ร่วมบำเพ็ญกุศลโดยทั่วกัน : คัดลอกประวัติบางตอนมาจาก :: ๑. หนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า ๑ คอลัมน์ มงคลข่าวสด วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๕๗๖๔

Related products

  • ปลัดขิกรุ่นแรก หลวงปู่ผา โกสโล

    ฿999.00
  • รูปหล่อวิหารธรรมเจดีย์ศรีชมพู หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต สัมฤทธิ์

    ฿700.00
  • พระขุนแผนผงพรายกุมาร หลวงปู่เขียน ปุญญกาโม กุมารทองยม

    ฿1,500.00
© 2025 ตามรอยพุทธคุณ. All Rights Reserved. Muffin group
    1